เมื่อโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล เทคโนโลยีต่างๆจึงเริ่มมีบทบาทมากขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจต่างๆต้องทำการปรับตัว รวมถึงหันนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน สายงานในด้านของอุตสาหกรรมการผลิตเอง ก็นำเอาเทคโนโลยีที่เรียกว่า Virtual reality (VR) และ Augmented reality (AR) หรือ มาใช้ด้วยเช่นเดียวกัน
แต่ก่อนที่จะพูดถึงว่าเทคโนโลยีเหล่านี้ว่าสามารถนำมาใช้กับด้านของอุตสาหกรรมการผลิตได้อย่างไร เรามาอธิบายกันก่อนดีกว่าว่า VR และ AR คืออะไร เผื่อหลายคนยังอาจจะยังไม่ทราบ
Augmented reality (AR) คืออะไร?
คือ เทคโนโลยีที่นำ ภาพเสมือนแบบ 3 มิติ เข้ามาสู่โลกของความจริง โดยทำให้เรามองเห็นวัตถุเสมือนจริง ผ่านอุปกรณ์ที่แสดงภาพได้ เช่น โทรศัพท์มือถือ
Virtual reality (VR) คืออะไร ?
Virtual reality หรือ เทคโนโลยีโลกเสมือน คือ การใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สร้างหรือจำลองสภาพแวดล้อมขึ้นมา โดยผู้ใช้งานสามาถเข้าไปสัมพัสโลกเหล่านั้นได้ผ่านอุปกรณ์ ที่เรียกว่า แว่นตาVR ซึ่งเปรียบเสมือนตาที่ทำให้เราสามารถมองเห็นโลกเสมือน และ อุปกรณ์ Controller ที่เปรียบเสมือนมือ ช่วยให้สามารถตอบสนองกับสิ่งจำลอง โดยเราจะได้ใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ ทั้งการมองเห็น การได้ยิน การสัมผัส ทำให้เหมือนหลุดไปยังอีกโลกนึงได้แบบ 360 องศา ดื่มด่ำกับบรรยากาศอีกโลกได้อย่างเสมือนจริง
ฟังดูแล้วเจ๋งไปเลยใช่ไหมละ เหมือนเอาโลกจินตนาการมาสร้างออกมาในรูปแบบ 3D ที่เรามองเห็นและสัมพัสได้ เมื่อก่อนถ้าได้ยินคงจะเป็นรู้สึกเหมือนเป็นเรื่องเพ้อฝัน แต่ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันทำให้เราสามารถเนมิตมันให้เกิดขึ้นจริงได้
งั้นเราลองมาดูกันว่าเทคโนโลยีตัวนี้สามารถสร้างประโยชน์อะไรได้บ้างให้กับภาคธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิต
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Virtual reality (VR) ใน ธุรกิจในด้านอุตสาหกรรมการผลิต
Virtual reality (VR) และ Augmented reality (AR) กำลังได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วในอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งแต่เดิมได้รับการพัฒนาเพื่อเป็นเทคโนโลยีสำหรับการเล่นเกมและความบันเทิงอย่างที่เราเห็นกันบ่อยๆ โดย คุณ Jonathan Wilkins ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด ฝ่ายซัพพลายเออร์ชิ้นส่วนระบบอัตโนมัติของ บริษัท EU Automation ได้อธิบายไว้ว่า การนำเทคโนโลยี VR และ AR มาใช้ในโรงงานนั้นสามารถช่วยยกระดับความความปลอดภัยและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตได้ ได้ดังนี้
เร่งอัตราการผลิต
การใช้เทคโนโลยี VR เข้ามาช่วยนั้นจะทำให้สามารถหาข้อบกพร่องในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้รวดเร็วขึ้น จากปกติที่ต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการวิเคราะห์ข้อมูล แต่เมื่อนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ก็ทำให้สามารถช่วยระบุข้อบกพร่องในการออกแบบได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาที
นอกจากนั้น VR ยังช่วยลดความจำเป็นในการสร้างแบบจำลองจริง ซึ่งสะดวกมากในภาคส่วนต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น การผลิตด้านอวกาศ ซึ่งการสร้างต้นแบบอาจต้องใช้ต้นทุนสูงและช่วยเวลาในการผลิต การนำเทคโนโลยี VR มาใช้จึงช่วยลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย และ ช่วยลดเวลาในการผลิตตัวต้นแบบ
BMW เองก็ได้นำเอาเทคโนโลยี VR มาใช้เพื่อวางแผนสำหรับเตรียมการผลิตจริงในแต่ละเวิร์กสเตชั่นการประกอบรถ ซึ่งช่วยให้สามารถจัดเวิร์กสเตชั่นก่อนการประกอบค็อกพิตได้รวดเร็วและมีประสิทธิผลขึ้น ทำให้ไม่มีการเสียเวลาในการลองติดตั้งรูปแบบเวิร์กสเตชั่นอีกต่อไป
ยกระดับความปลอดภัย
อีกหนึ่งความสามารถของเทคโนโลยี VR ที่สามารถนำมาช่วยยกระดับความปลอดภัยได้ด้วยการจำลองกระบวนการผลิต ซึ่งทำให้สามารถสร้างเหตุการณ์จำลองที่อาจเป็นอันตรายล่วงหน้าได้ โดยบริษัทยานยนต์ยักษ์ใหญ่อย่าง Ford เองก็มีอัตราการอาการบาดเจ็บของพนักงานลงถึง 70% ด้วย จากใช้การเทคโนโลยี VR
ซึ่งกระบวนการเดียวกันนี้สามารถนำไปใช้ในการสร้างความปลอดภัยของผู้บริโภคได้โดยการจำลองสถานการณ์จริงขณะใช้ผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตรถยนต์สามารถสร้างสภาพอากาศและสภาพการจราจร ที่หลากหลายขึ้นเพื่อทดสอบคุณสมบัติด้านความปลอดภัยของยานพาหนะ
ทดสอบการชนเสมือนจริงของ Ford Ranger WildTrak
การซ่อมแซมบำรุงรักษา และ การฝึกอบรม
AR สามารถอำนวยความสะดวกในเรื่องของการบำรุงรักษาและซ่อมแซมได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ตัวอย่างเช่น ข้อมูลที่ช่างต้องการตรวจสอบหรือซ่อมแซมเครื่องจักร AR สามารถแสดงข้อมูลได้โดยตรงในส่วนที่ต้องการซ่อมแซม ซึ่งช่วยลดความจำเป็นในการดูแผนผังและคู่มือการใช้งาน ทำให้กระบวนการรวดเร็วขึ้นรวมถึงพนักงานที่ไม่มีประสบการณ์ก็สามารถศึกษาวิธีการซ่อมแซมผ่านเทคโนโลยี VR ได้ง่ายๆ เช่นเดียวกัน
นอกจากนั้นแล้วยังสามารถใช้ AR/VR เพื่อใช้ฝึกอบรมพนักงานได้อีกด้วย โดยสามารถสร้างสถานการณ์จำลองขึ้นมาเพื่อใช้ในการฝึกฝนพนักงานในการใช้เครื่องจักรหรือวิธีการดำเนินการต่างๆในสายการผลิต ซึ่งไม่จำเป็นต้องมีผู้เชี่ยญชาญหรือผู้ช่วยมาเทรนแบบตัวต่อตัว แต่สามารถรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญจากทางไกลได้ โดยการนำเอาเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้จึงช่วยนั้นสามารถลดอัตราการเสี่ยงอันตรายจากการฝึกงานในโรงงานได้เป็นอย่างดี
Virtual Reality (VR) ทดสอบช่างไฟฟ้า การไฟฟ้านครหลวง
Virtual reality (VR) ค่อนข้างบูมเลยทีเดียว โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยการนำเอาใช้เทคโนโลยีใหม่มาประยุกต์ใช้ ถือเป็นปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จในตลาด เพราะมีการแข่งขันสูงขึ้น ทำให้แต่บริษัทต่างต้องการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ให้เร็วขึ้นและสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูงขึ้น ซึ่งปัจจุบันการนำ VR มาประยุกต์ใช้นั้นกลายเป็นมาตรฐานในอุตสาหกรรมยานยนต์ไปแล้ว
อุตสกรรมการผลิตที่นำเทคโนโลยี VR และ AR มาใช้และผลที่ได้
บริษัท ฮุนได มอเตอร์ และ เกีย มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น
ได้เปิดตัวระบบประเมินการออกแบบเสมือนจริง (VR) ใหม่ที่สำนักงานใหญ่ด้านการออกแบบระดับโลกของแบรนด์ต่างๆ โดยระบบใหม่นี้ถูกเปิดตัวในศูนย์วิจัยและพัฒนา Namyang ในเกาหลีใต้ แสดงให้เห็นถึงการมุ่งเน้นที่ยกระดับกระบวนการพัฒนายานยนต์ผ่านการใช้เทคโนโลยี VR
• ระบบประเมินการออกแบบ VR ของ Hyundai และ Kia ช่วยให้พนักงานถึง 20 คน สามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนาการออกแบบได้พร้อมกัน
• ระบบ VR ปรับปรุงคุณภาพการออกแบบและประสิทธิภาพ โดยคาดว่าจะลดเวลาในการพัฒนารถยนต์ลง 20% และต้นทุนการพัฒนาประจำปีลง 15%
Infographic Thailand Production บริการผลิตสื่อ VR สำหรับ Training สนใจติดต่อเราได้ที่ Click
source
https://www.innovae.eu/en/industry-40-augmented-and-virtual-reality/
https://www.classvr.com/virtual-reality-industry-work/
https://www.youtube.com/watch?v=zYdls_7Ksk8
https://www.youtube.com/watch?v=4YQx-9Un_C4
https://www.youtube.com/watch?v=0m67O1Em7dY